Image

“แนวโน้มดอกเบี้ยเฟดยังคงไปต่อ บาทอ่อนค่ารับนโยบายเงินดิจิทัล”

💚สวัสดีวันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน “แนวโน้มดอกเบี้ยเฟดยังคงไปต่อ บาทอ่อนค่ารับนโยบายเงินดิจิทัล” 💚

📈 USD ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ หลังจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันในเดือนพ.ย. ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น 4.4% ในช่วง 1 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์ในเดือนต.ค.ที่ระดับ 4.2% นอกจากนี้ ผู้บริโภคคาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น 3.2% ในช่วง 5 ปีข้างหน้า เพิ่มขึ้นจากตัวเลขคาดการณ์ในเดือนต.ค.ที่ระดับ 3.0%

🇪🇺 อังกฤษเปิดเผยในวันศุกร์ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไม่มีการขยายตัวในไตรมาส 3 หลังจากขยายตัว 0.2% ในไตรมาส 2 แต่เมื่อเทียบเป็นรายปี GDP อังกฤษขยายตัว 0.6% ในไตรมาส 3/2566 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว

📉THB แนวโน้มของค่าเงินบาท ปัจจัยกดดันฝั่งอ่อนค่ายังคงมีอยู่ หลังตลาดกลับมากังวลทั้งประเด็นแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดและความเสี่ยงเสถียรภาพการคลังของไทย นอกจากนี้ ทั้งสองปัจจัยดังกล่าวยังส่งผลให้ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติมีทิศทางไม่แน่นอน อนึ่ง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของจีนออกมาดีกว่าคาด ก็อาจช่วยให้ทั้งเงินหยวนและสกุลเงินเอเชียแข็งค่าขึ้น หรือ ชะลอการอ่อนค่าได้ ทั้งนี้ เราประเมินว่า การอ่อนค่าของเงินบาทอาจจำกัดอยู่ในโซน 36.25-36.30 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นโซนที่ผู้เล่นในตลาดอาจรอจังวะทยอยขายเงินดอลลาร์

💹 ส่วนเงินดอลลาร์มีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อได้ หากตลาดยังคงกังวลต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด โดยเฉพาะในกรณีที่ อัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าคาด หรือ เร่งตัวขึ้นสวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ แต่หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าคาด และสะท้อนภาพการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจมากขึ้น ก็อาจกดดันให้ เงินดอลลาร์ พร้อมกับบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ทยอยปรับตัวลดลง

📈📉มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.90-36.20 บาท/ดอลลาร์