
💚16 FEB “มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.00-36.20 บาท/ดอลลาร์”
💚16 FEB “มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.00-36.20 บาท/ดอลลาร์”
📈 USDตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยง หวังว่าเฟดอาจทยอยลดดอกเบี้ยได้มากกว่าที่ระบุไว้ใน Dot Plot ล่าสุด หลังรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ (ยอดค้าปลีก และยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานต่อเนื่อง) เริ่มออกมาแย่กว่าคาดบ้าง อย่างไรก็ดี ผู้เล่นในตลาดบางส่วนก็ทยอยขายทำกำไรบรรดาหุ้นเทคฯ ใหญ่ (The Magnificent 7) ออกมาบ้าง อาทิ Alphabet -2.2%, Nvidia -1.7% ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไม่ได้ปรับตัวขึ้นไปมาก โดยดัชนี S&P500 ปิดตลาดราว +0.58%
🪙 ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ปรับตัวขึ้น +0.68% หนุนโดยรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนที่ยังคงออกมาสดใส ขณะเดียวกัน ตลาดหุ้นยุโรปยังพอได้แรงหนุนจาก ถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ BOE และ ECB รวมถึงรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของอังกฤษล่าสุด ที่ยังคงทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างคาดหวังว่าทั้ง BOE และ ECB อาจสามารถทยอยลดดอกเบี้ยลงได้ในช่วงไตรมาส 2
📉THB ค่าเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น (แกว่งตัวในช่วง 36.03-36.18 บาทต่อดอลลาร์) ตามการย่อตัวลงของเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังรายงาน (Retail Sales) สหรัฐฯ ในเดือนมกราคม หดตัว -0.8%m/m แย่กว่าที่ตลาดคาด ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานต่อเนื่อง (Continuing Jobless Claims) ก็ยังออกมาแย่กว่าคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงคาดหวังว่า เฟดอาจลดดอกเบี้ยได้มากกว่าที่ระบุไว้ใน Dot Plot เล็กน้อย (ตลาดมอง ลดดอกเบี้ย 4 ครั้ง) นอกจากนี้ การย่อตัวลงของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ โฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวก็มีส่วนช่วยหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินบาท
แนวโน้มของค่าเงินบาท เราประเมินว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาท แม้ยังคงมีอยู่ แต่ก็เริ่มแผ่วลงบ้าง ทำให้โดยรวมเงินบาทอาจยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 36.00 บาทต่อดอลลาร์ และอาจยังไม่อ่อนค่าทะลุโซนแนวต้าน 36.20-36.30 บาทต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ เรามองว่า นอกจากทิศทางเงินดอลลาร์ ผู้เล่นในตลาดควรจับตาทิศทางราคาทองคำ และฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ ซึ่งจะมีผลกับทิศทางเงินบาทได้ในระยะสั้น โดยเราประเมินว่า ราคาทองคำอาจเริ่มอยู่ในช่วงสร้างฐานราคา หลังปรับตัวลงแรงก่อนหน้า ทำให้ยังพอมีโอกาสได้ลุ้นการรีบาวด์ของราคาทองคำ ซึ่งจะช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้บ้าง ขณะเดียวกัน หากบรรยากาศในตลาดการเงินเอเชียยังคงอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยงก็อาจช่วยชะลอแรงขายสินทรัพย์ไทยจากบรรดานักลงทุนต่างชาติได้บ้าง ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติอาจยังไม่รีบกลับเข้าซื้อหุ้นไทย เพราะในช่วงนี้ หุ้นขนาดเล็ก-กลาง เป็นกลุ่มที่กำลังทำผลงานได้ดี ขณะที่หุ้นขนาดใหญ่ ยังไม่ได้มีการรีบาวด์ขึ้นอย่างชัดเจน สะท้อนจากผลตอบแทนที่แตกต่างของดัชนี SSET หรือ MAI เทียบกับ ดัชนี SET50
ทั้งนี้ ในเชิงเทคนิคัล หากเงินบาทไม่ได้อ่อนค่าต่อ และพลิกกลับมาย่อตัวลง จนแกว่งตัวแถว 36.00 บาทต่อดอลลาร์ เรามองว่า เงินบาทก็จะเริ่มมีโอกาสพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้บ้าง หรือ อย่างน้อยก็แกว่งตัว sideways ตามสัญญาณ อาทิ Shooting star pattern, Bearish Divergence บน RSI เป็นต้น ซึ่งหากเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นได้จริง ก็อาจเผชิญแนวรับแถว 35.80 บาทต่อดอลลาร์ เป็นแนวรับในระยะสั้น
💹 ในฝั่งตลาดบอนด์ แม้ว่า บรรดาเจ้าหน้าที่เฟดจะต่างออกมาให้ความเห็นในเชิงลดความคาดหวังของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มการลดดอกเบี้ยของเฟดในปีหน้า ทว่า มุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อแนวโน้มดอกเบี้ยเฟดยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นไปได้ว่า ผู้เล่นในตลาดอาจรอจับตารายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ และในระยะถัดไป ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนมุมมองแนวโน้มดอกเบี้ยเฟด ซึ่งมุมมองดังกล่าวของผู้เล่นในตลาดยังคงทำให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ แกว่งตัว sideway ใกล้ระดับ 3.92% อนึ่ง เราคงมองว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้ปรับตัวลดลงมาพอสมควร ทำให้ผู้เล่นในตลาดควรรอจังหวะบอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น ในการทยอยเข้าซื้อบอนด์ระยะยาว มากกว่าที่จะไล่ราคาซื้อ เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุด ยังคงไม่ได้สะท้อนว่า เฟดจะมีโอกาสลดดอกเบี้ยลงได้เร็วและลึกตามที่ตลาดกำลังคาดหวังอยู่
📈📉มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.90 - 35.20 บาท/ดอลลาร์